วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ประวัติความเป็นมา

                
             ตาลโตนด   มีถิ่นกำเนิดในเอเซียตอนใต้แถบฝั่งตะวันออกของประเทศอินเดียและกระจัดกระจายขึ้นอยู่ทั่วภูมิภาคเอเซีย   ได้แก่   อินเดีย     ศรีลังกา  สหภาพเมียนม่าร์  กัมพูชา  มาเลเซีย อินโดนีเซีย   และไทยในประเทศไทยตาลโตนดได้มีการบันทึกข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษรมาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น จารึกวัดแดนเมือง จารึกวัศรีคูณเมือง จารึกวัดศรีเมือง และจารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา จากจารึกเหล่านี้เองจึงเชื่อกันว่าตาลโตนดมีการปลูกมาตั้งแต่ก่อนสมัยทวาราวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-16 เพราะได้พบตราประทับเป็นรูปคนปีนต้นตาลแสดงว่า ในสมัยนั้นได้รู้จักวิธีใช้ประโยชน์จากต้นตาลกันแล้ว แหล่งปลูกต้นตาลโตนดในประเทศไทยที่สำคัญได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี  สุพรรณบุรี  นครปฐม และในภาคใต้  จังหวัดสงขลา (อำเภอสะทิงพระ และอำเภอระโนด) การแพร่กระจายของแหล่งปลูกตาลโตนดนั้น เชื่อกันว่าสัตว์เป็นตัวนำพาไป ได้แก่ ช้างและวัวควาย ทั้งนี้ช้างจะกลืนกินเมล็ดตาลโตนดทั้งเมล็ด และช้างจะสามารถเห็นทางได้ไกลเป็นระยะร้อยกิโลเมตร จึงทำให้เมล็ดตาลโตนดแพร่กระจายจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งได้ในระยะไกล ๆ ในขณะที่วัวและควายจะชอบกินผลตาลสุก และจะดูดกินความหวานส่วนของเส้นใยผลตาลสุกที่ห่อหุ้มรอบเมล็ดแต่ไม่กินเมล็ดตาล ซึ่งมีลักษณะแข็งมาก และจะทิ้งเมล็ดไว้บริเวณใกล้เคียงที่กิน จึงไม่แพร่กระจายไปไกลมาก 




                 ตาลโตนด   จัดเป็นไม้ตระกูลเก่าแก่ตระกูลหนึ่งในโลกซึ่งมีมากกว่า 4,000 ชนิด  (Species) เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืนนับเป็นร้อยปี และอยู่กับจังหวัดเพชรบุรี  มาตั้งแต่โบราณกาล   และผลิตผลจากต้นตาลโดยเฉพาะน้ำตาลโดนดยังเป็นส่วนผสมที่สำคัญในการทำขนมหวานเมืองเพชร  ซึ่งมีชี่อเสียงตั้งแต่อดีดจนถึง ปัจจุบัน ดังคำสวดสุบินกุมารที่มีอายุมากกว่าร้อยปี  กล่าวว่า



  โตนดเต้าแลจาวตาล       เป็นเครื่องหวานเพชรบุรี 
  กินกับน้ำตาล         ของมากมีมาช่วยกัน


          จากตำนานของจังหวัดเพชรบุรีกล่าวว่าในปี พ.ศ. 2134 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้เสด็จมาประทับแรม ณ พระตำหนักโตนดหลวง (อยู่ในเขตตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ) เพื่อประพาสทางทะเล
         นักชีววิทยามีความเห็นว่า ตาลโตนดน่าจะมีถิ่นกำเนิดทางฝั่งตะวันออกของอินเดียขยายไปสู่ศรีลังกา สหภาพเมียนม่าร์ ไทย อินโดนีเซีย กัมพูชา ส่วนในประเทศไทยพบมากที่จังหวัดเพชรบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ส่วนภาคใต้พบมากที่อำเภอสทิงพระ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา การแพร่กระจาย ของตาลโตนดนั้น นักวิชาการบางท่านให้ความเห็นว่า การแพร่กระจายของตาลโตนดนั้น สัตว์ก็มีส่วนด้วยเหมือนกัน เช่น เวลาช้างกินเมล็ดตาลโตนด จะกลืนทั้งเมล็ด และช้างจะเดินทางไกลนับเป็นร้อยๆกิโลเมตร ทำให้ตาลโตนดแพร่กระจายจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งได้เช่นกัน ตรงข้ามกับวัว ควาย ซึ่งชอบ เมล็ดตาลโตนดสุกเหมือนกัน   แต่วัว ควายได้แต่แทะ    และดูดกินส่วนของเส้นใยของเมล็ดตาล    พอหมดรสหวานก็จะทิ้งไว้ใกล้เคียงบริเวณเดิม   ไม่แพร่กระจายไปสู่ถิ่นอื่น   ม่กินเมล็ดตาล ซึ่งมีลักษณะแข็งมาก และจะทิ้งเมล็ดไว้บริเวณใกล้เคียงที่กิน จึงไม่แพร่กระจายไปไกลมาก 

***แหล่งที่มา  http://www.phetchaburi.doae.go.th/pb2013/tan_phet/tan1.htm



สายพันธุ์ของต้นตาลโตนด

พันธุ์ตาลโตนด  ที่นิยมปลูกมี  3  พันธุ์ด้วยกัน  คือ


          1. ตาลหม้อ    เป็นตาลที่มีลำต้นแข็งแรงถ้าดูจากลำต้นภายนอกไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นตาลพันธุ์อะไร นอกจากต้นนั้นจะให้ผลแล้ว แบ่งออกเป็น
               1.1 ตาลหม้อใหญ่   เป็นตาลที่ให้ผลใหญ่ ผิวดำมันแทบไม่มีสีอื่นปนเลย เวลาแก่มีรอยขีดตามแนวยาวของผล เมล็ดหนา ใน 1 ผลจะมี 2-4 เมล็ด ใน 1 ทะลายจะมีประมาณ 1-10 ผล ่จะให้ผลเมื่ออายุ 10 ปีขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของต้น
               1.2 ตาลหม้อเล็ก   ลักษณะคล้ายตาลหม้อใหญ่ ผลมีขนาดเล็กสีดำ ผลจะมีรอยขีดเมื่อแก่ ใน 1 ผล จะมี 2-4 เมล็ด ใน 1 ทะลาย จะมีประมาณ 1-20 ผล ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากผลมีขนาดเล็กและเต้าที่ได้จะมีขนาดเล็กตามไปด้วย
 




           2. ตาลไข่    ลำต้นแข็งแรง ลูกมีขนาดเล็กสีค่อนข้างเหลืองแบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน
               2.1 ไข่เล็ก   ลูกค่อนข้างเล็ก ใน 1 ทะลายจะมีผล 1-20 ผล เนื่องจากผลเล็กจึงทำให้เต้ามีขนาดเล็กตามไปด้วย จะให้ผลเมื่ออายุ 10 ปีขึ้นไป
              2.2 ไข่ใหญ่   ผลมีขนาดใหญ่กว่าไข่เล็ก สีค่อนข้างเหลือง ใน 1 ทะลายจะมีผล 1-10 ผล เต้ามีขนาดใหญ่กว่าไข่เล็ก 1ผลจะมี 2-3 เต้า จะให้ผลเมื่ออายุ 10 ปีขึ้นไป


***แหล่งที่มา http://www.phetchaburi.doae.go.th/pb2013/tan_phet/tan3.htm



ประโยชน์ของต้นตาลโตนด

ประโยชน์ของต้นตาล
         1.ประโยชน์ของต้นตาล เนื่องจากต้นตาลมีทรงพุ่มที่สวยงาม จึงนิยมใช้ปลูกไว้กลางแจ้งไว้เป็นกลุ่ม หรือเป็นแถว หรือปลูกไว้เดี่ยว ๆ ปลูกตามชายทะเล หรือรมถนนหนทาง   ลำต้นของต้นตาล สามารถนำมาใช้ทำไม้กระดาน หรือใช้ทำเสา สร้างบ้าน ซึ่งมีคุณสมบัติทนแดดทนฝนและการเสียดสีได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ และเฟอร์นิเจอร์สำหรับเครื่องตกแต่งบ้าน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ไม้เท้า ด้ามร่ม สาก กรอบรูป เชิงเทียน แก้วน้ำ ฯลฯ หรือใช้ในงานฝีมือที่มีราคาสูง ใช้ทำเรือขุด (เรืออีโปง) หรือจะนำลำต้นมาตัดขุดไส้กลางออกทำเป็นท่อระบายน้ำสำหรับพื้นที่ทางการเกษตร สะพาน กลอง เสา เป็นต้น

       2.ประโยชน์ของเปลือกตาล หรือส่วนที่เป็น กะลา นิยมนำไปใช้ทำเป็นเชื้อเพลิง เมื่อนำไปเข้าเตาเผาแล้วจะได้ถ่านสีดำที่มีคาร์บอนสูงเป็นพิเศษ และกำลังเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน หรือจะนำมาใช้เป็นกล่องหรือตลับสำหรับเก็บสิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างเช่น เข็ม กระดุม เส้นยาสูบ ฯลฯ

        3.ประโยชน์ของใบตาล   ใบอ่อนนำมาใช้ในการจักสาน งานฝีมือ หรือทำเป็นของใช้และของเล่นสำหรับเด็ก โดยสานเป็นรูปสัตว์ชนิดต่าง ๆ ส่วนใบแก่นำมาไปใช้ทำหลังคากันแดดกันฝน มุงหลังคา  ทำเสื่อ สานตะกร้อ ตะกร้า สานกระเป๋า ทำหมวก  ทำลิ้นปี่ ทำแว่นสำหรับทำน้ำตาลแวน ทำเชื้อเพลิง ฯลฯ หากตัดใบตาลเป็นท่อนสั้น ๆ  ก็สามารถนำมาใช้แทนช้อนเพื่อตัดขนมหรืออาหารได้ชั่วคราว    และในประเทศอินเดียสมัยโบราณมีการนำมาใช้เพื่อจารึกตัวอักษรลงบนใบแทนการใช้กระดาษ หรือใช้ทำตาลปัตร (พัดยศ) ของพระสงฆ์ในอดีต

        4.ประโยชน์ของทางตาล หรือส่วนของก้านใบตาล สามารถลอกผิวภายนอกส่วนที่อยู่ด้านบนที่เรียกว่า หน้าตาล มาฟั่นทำเป็นเชือกสำหรับผูกหรือล่ามวัว และมีความเหนียวที่ดีมากแม้จะไม่ทนทานเท่าเชือกที่ทำจากต้นปอหรือต้นเส็งก็ตาม จึงเหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องมีการตากแดดตากฝน ส่วนทางตาลตอนโคน ที่อยู่ติดกับต้นตาลนั้นจะมีอยู่ 2 แฉก มีลักษณะบางและแบน หรือที่เรียกว่า ขาตาล สามารถนำมาตัดใช้เป็นคราดหรือไม้กวาด เพื่อใช้กอบสิ่งของที่เป็นกอง   อย่างเช่น  มูลวัว  ขี้เถ้า  เมล็ดข้าว   เป็นต้น    แต่หากต่อด้ามหรือทำเป็นกาบจะเรียกว่า   “กาบตาล    นอกจากนี้ทาตาลยังสามารถนำใช้ทำเป็นคอกสัตว์   รั้วบ้าน   ใช้ทำเป็นเชื้อเพลิง   หรือใช้ในงานหัตถกรรมจักสานหรืองานฝีมือ เช่น การทำเป็นกระเป๋า หมวก ฯลฯ

        5.ประโยชน์ของลูกตาลโตนด ผลสามารถนำมารับประทานหรือใช้ทำเป็นขนมได้ได้ (ผลเมื่อสุกแล้วจะมีกลิ่นหอม) สามารถทำเป็น ลูกตาลลอยแก้วหัวลูกตาลอ่อน นำมาต้มให้สุกใช้รับประทานกับน้ำพริกได้ หรือนำมาต้มกับน้ำปลาร้าที่เรียกว่า ต้มปลาร้าหัวตาล ส่วนผลลูกตาลสุกจะใช้เนื้อเยื่อสีเหลืองที่หุ้มเมล็ดนำมาทำเป็นขนมที่เรียกวา “ขนมตาลส่วนเมล็ดทิ้งไว้จนรากงอก หากทิ้งไว้ พอสมควรจะมีเนื้อเยื่อข้างใน สามารถนำมาเชื่อมทำเป็นขนมหรือที่เรียกว่า ลูกตาลเชื่อมนอกจากนี้ยังใช้ผสมกับแป้งทำเป็นขนมหวาน จาวตาลเชื่อม ลูกตาลลอยแก้ว เป็นต้น   ผลอ่อน หน่ออ่อน สามารถนำมาใช้ประกอบอาหาร ประเภท ผัด ต้ม แกง ได้

        6.ประโยชน์ของตาลโตนด เปลือกหุ้มผลอ่อนนำมาใช้ปรุงอาหารได้ทั้งคาวและหวาน เช่น อาหารจำพวกยำ แกงเลียง ฯลฯ ส่วนเปลือกหุ้มผลตาลจากแห้งใช้ทำเป็นเชื้อเพลิงได้ หรือจะคั้นเอาแต่น้ำของผลแก่ใช้ปรุงเพื่อแต่งกลิ่นขนม นอกจากนี้ผลตาลแก่ยังสามารถนำมาใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู วัว ได้อีกด้วย
        7.หากเอาส่วนของหัวตาลมาปอกผิวนอกออก แล้วนำมาหั่นออกเป็นชิ้นบาง ๆ จะได้หัวตาลอ่อน ที่นำไปใช้ปรุงเป็น แกงคั่วหัวตาล

         8.ประโยชน์ของหัวตาลอ่อน นิยมนำไปลอยน้ำตาลใส ด้วยการตัดเฉพาะส่วนหัวลูกตาลที่ค่อนข้างอ่อนนำมาร้อยกับเส้นตอกให้เป็นพวง ประมาณพวงละ 7-10 หัว แล้วนำไปลอยน้ำตาลใสที่กำลังเคี่ยวเดือดในกระทะ เมื่อสุกแล้วจึงนำขึ้นมารับประทานได้
         9.ประโยชน์ของลอนตาล ต้นตาลตัวเมียจะมี “ลูกตาลที่ติดกันเป็นทะลาย หากยังไม่แก่จัด จะนิยมตัดลงมาทั้งทะลาย แล้วนำมาเฉาะเพื่อเอา เต้าตาลหรือ “ลอนตาลนำมาใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้ โดยให้รสหอมหวานและนุ่มเนื้อน่ารับประทาน หรือจะนำมาแช่เย็นก่อนนำมารับประทานก็ใช้ได้ หรือจะนำไปทำเป็นขนมด้วยการต้มกับน้ำตาลทรายทำเป็น ลอนตาลลอยแก้ว ก็ได้
         10.ประโยชน์ของจาวตาล นิยมนำไปเชื่อมรับประทานเป็นของหวาน ด้วยการนำมาทำเป็น จาวตาลเชื่อมหรือที่นิยมเรียกว่า “ลูกตาลเชื่อม  มีทั้งการเชื่อมเปียก (จาวตาลจะฉ่ำน้ำตาล) และการเชื่อมแห้ง (จาวตาลจะมีเกร็ดน้ำตาลจับแข็ง สามารถเก็บไว้ได้นาน)  หรือจะนำจาวตาลเชื่อมน้ำตาลโตนดชุบแป้งทอด เป็นของกินเล่นที่เรียกว่า โตนดทอด
        11.ประโยชน์ของเมล็ดตาล สามารถนำมาใช้รับประทานสด หรือใช้ทำเป็นขนมเป็นของหวาน หรือนำไปใส่ในแกงส้มหรือแกงเหลือง  ส่วนเมล็ดตาลสุก เมื่อนำไปล้างทำความสะอาดแล้วนำไปตากให้แห้ง จะมีลักษณะเป็นฟูฝอยสวยงามคล้ายกับขนสัตว์ จึงนิยมนำไปใช้ทำเป็นของเล่นสำหรับเด็กผู้หญิง ด้วยการใช้หวีเพื่อจัดรูปทรงได้หลายแบบ คล้ายกับเป็นช่างทำผม นอกจากนี้ยังนำมาใช้เผาถ่านได้อีกด้วย
        12.สำหรับลูกตาลอ่อน   เราจะนำส่วนที่ติดขั้วจุก   และใจกลางของลูกมาใช้ทำเป็นอาหาร หรือใช้รับประทานแทนผัก
        13. ประโยชน์ของงวงตาล  (ช่อดอก) ใช้น้ำหวานที่ได้จากการปาดและนวด   นำมาใช้ทำเป็นเครื่องดื่มและน้ำตาล  หรือทำเป็นน้ำตาลสด น้ำตาลเมา  น้ำตาลแว่น   น้ำตาลโตนด   นอกจากนี้ยังมีการใช้ช่อดอกตัวผู้นำมาตากแห้งทำเป็นเชื้อเพลิง และนำมาใช้กินต่างหมาก[ ต้นตาลทั้งเพศผู้และเพศเมียที่ยังไม่แก่เต็มที่จะให้น้ำตาลที่สามารถนำมาทำเป็นน้ำตาลก้อนหรือน้ำตาลปี๊บ
        14.ปัจจุบันมีการนำงวงตาล มาใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ที่อยู่ในรูปแบบแคปซูลเพื่อความสะดวกในการบริโภค โดยมีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิ แก้พิษตานซาง ทำให้จิตใจชื่นบาน ฯลฯ

สรรพคุณของตาล
1.สำหรับบางคนใช้เป็นยาชูกำลัง (รากต้มกับน้ำดื่ม)
2.ช่วยทำให้สดชื่น จิตใจแจ่มใสเบิกบาน ด้วยการใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ราก) หรือจะใช้งวงตาลหรือช่อตาลก็ได้
3.จาวตาลมีฟอสฟอรัสสูง จึงช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรงได้ (จาวตาล)
4.ช่วยแก้ไข้ ด้วยการใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ราก) ส่วนรากที่งอกอยู่เหนือดิน (ตาลแขวน) มีรสหวานเย็นปนฝาดเล็กน้อย ใช้เป็นยาแก้ไข่ที่มีพิษร้อน
5.รากนำมาต้มกับน้ำดื่ม แก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ (ราก)
6. กาบหรือก้านใบสดนำมาอังไฟบีบเอาแต่น้ำใช้อมรักษาอาการปากเปื่อยได้ (กาบใบ,ก้านใบสด)
7.ช่วยแก้ต่อมทอนซิลอักเสบ (รากต้มกับน้ำ)
8. ใบนำมาคั่วให้เหลืองแล้วนำมาบดจนเป็นผง ใช้สูบหรือเป่า มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต (ใบ)
9.ช่วยขับเลือด (รากต้มกับน้ำดื่ม)
10.ช่วยแก้ตานขโมยในเด็ก (งวงตาลหรือช่อตาล,ราก)
11.กาบหรือก้าน  ใบสดนำมาอังไฟแล้วบีบเอาน้ำมากินแก้อาการท้องเสีย   ท้องร่วงได้  (กาบใบ, ก้านใบสด)
12.รากตาลหรืองวงตาลนำมาต้มกัลน้ำดื่ม สรรพคุณช่วยขับพยาธิได้ (งวงตาล,ราก)
13.ใช้รากหรืองวงตาลนำมาต้มกับน้ำดื่มแก้พิษตานซางได้ (งวงตาล,ราก) หรือจะใช้รากที่งอกอยู่เหนือดินที่เรียกว่า ตาลแขวนก็แก้พิษซางตานได้ดีเช่นกัน (ตาลแขวน)
14.ใบตาล สรรพคุณช่วยแก้อาการกระสับกระส่ายของสตรีหลังคลอดบุตร (ใบ)

*** แหล่งที่มา   http://frynn.com/

คุณค่าทางโภชนาการของลูกตาลอ่อน ต่
อ 100 กรัม
  • พลังงาน 47 กิโลแคลอรี่
  • คาร์โบไฮเดรต 9.0 กรัม
  • โปรตีน 0.5 กรัม
  • เส้นใย 0.5 กรัม
  • ไขมัน 1.0 กรัม
  • น้ำ 88.5 กรัม
  • วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี2 0.01 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี3 0.5 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 2 มิลลิกรัม
  • ธาตุแคลเซียม 6 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม
  • ธาตุฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม
ข้อมูลจาก : กองโภชนาการ กรมอนามัย. ตารางแสดงคุณค่าอาหารไทยในส่วนที่กินได้ 100 กรัม.

คุณค่าทางโภชนาการของหน่อตาลอ่อน ต่อ 100 กรัม

  • พลังงาน 103 กิโลแคลอรี่
  • คาร์โบไฮเดรต 26.6 กรัม
  • โปรตีน 2.7 กรัม
  • เส้นใย 2.2 กรัม
  • ไขมัน 0.2 กรัม
  • น้ำ 69.5 กรัม
  • วิตามินบี1 0.05 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี2 0.18 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี3 0.9 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 8 มิลลิกรัม
  • ธาตุแคลเซียม 18 มิลลิกรัม
  • ธาตุฟอสฟอรัส 140 มิลลิกรัม

ข้อมูลจาก : กองโภชนาการ กรมอนามัย. ตารางแสดงคุณค่าอาหารไทยในส่วนที่กินได้ 100 กรัม.




วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ลักษณะของต้นตาลโตนด

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

          ตาลโตนด  เป็นพืชตระกูลปาล์มพัดชนิดหนึ่ง  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Borasas flabellifer L.   จัดอยู่ ในสกุล Borassas ชื่อสามัญ Palmyra Palm นักชีววิทยาเชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดในเอเชียตอนใต้แถบฝั่งตะวันออกของอินเดียและกระจายตัวทั่วภูมิภาคเอเชียได้แก่ อินเดีย ศรีลังกา สหภาพเมียนมาร์ กัมพูชา มาเลเชีย อินโดนีเชีย และไทย สำหรับไทยนั้น ตาลโตนดน่าจะมีการปลูกมาก่อนสมัยทวารวดี เพราะจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่า เมื่อประมาณ พุทธศตวรรษที่ 11-16 ได้มีตราประทับรูปคน ปีนต้นตาล แสดงว่าในสมัยนั้นได้รู้จักวิธีใช้ประโยชน์จากต้นตาลแล้ว นอกจากนี้ตาลยังถูกบันทึกเป็น ลายลักษณ์อักษรมาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น จารึกวัดแดนเมือง จารึกวัดศรีคูณเมือง จารึกวัดศรีเมือง จารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา
         ตาลโตนด  มีชื่อเรียกกันหลายชื่อด้วยกัน  เช่น  ตาลใหญ่  ตาลนาไทย  ทางภาคเหนือเรียก ปลีตาล  ภาคใต้ เรียก โนด  เขมร เรียก  ตะนอย 

         ลำต้น   ตาลโตนดเป็นพืชลำต้นเดี่ยว (Single stem) ขึ้นจากพื้นดินเพียงต้นเดียว ไม่มีการแตกหน่อ มีขนาดใหญ่เส้นรอบวงประมาณ 2-4 ฟุต ผิวดำเป็นเสี้ยนแข็งมีความสูงจากพื้นดินถึงยอดประมาณ 25-30 เมตร จากข้อมูลของผู้ที่มีอาชีพเกี่ยวกับตาลกล่าวว่า ต้นตาลจะเริ่มตั้งสะโพกหลังจาก ปลูกประมาณ 3-5 ปี มีความสูงประมาณ 1 เมตร และจะเพิ่มความสูงประมาณปีละ 30-40 เซนติเมตร และผลการประกวดต้นตาลที่สูงที่สุดในจังหวัดเพชรบุรี ปี 2550 ปรากฏว่าต้นที่สูงที่สุดอยู่ที่ตำบลโรงเข้ อำเภอบ้านลาด สูงถึง 37.22 เมตรและเป็นต้นที่ยังคงให้ผลผลิตอยู่         



            ใบ   มีลักษณะยาวใหญ่เป็นรูปพัด (Palmate) ใบจะมีใบย่อยเรียกว่า Segment จะแตกจากจุดๆเดียว ขอบก้านใบจะมีหนามแข็ง และคมติดอยู่เป็น แนวยาวคล้ายใบเลื่อย ยอดตาลประกอบด้วยใบตาลประมาณ 25-40 ใบมีสีเขียวเข้มล้อมรอบลำต้นเป็นรัศมีประมาณ 3-4 เมตร ใบแก่สีน้ำตาลห้อยแนบกับ ลำต้นใน 1 ปีจะแตกใบประมาณ 12-15 ใบหรือเฉลี่ยเดือน
ละ 1 ใบ



             ดอก   ออกดอกเป็นช่อ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันอยู่คนละต้น ช่อดอกตัวผู้จะมีลักษณะเป็นงวงยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร โดยมีกระโปง ห่อหุ้มอยู่ ภายในกระโปงจะมีช่อดอกตัวผู้ประมาณ 3-5 ช่อ การออกของกระโปงจะออกเวียนรอบคอประมาณ 10-15 กระโปงต่อต้น ใน 1 ช่อดอก ประกอบด้วยดอกตัวผู้มากน้อยแล้วแต่ความสมบูรณ์ของช่อดอก ส่วนดอกตัวเมียจะออกจากกระโปงเหมือนกัน จะรู้ว่าเป็นดอกตัวผู้หรือดอกตัวเมีย เมื่อออกกระโปงแล้วเท่านั้น จากการสังเกตลักษณะของกระโปงพบว่าถ้ากระโปงปลายแหลมจะเป็นตัวผู้และถ้าผิวกระโปงมีลักษณะเป็นคลื่นๆ จะเป็นตัวเมีย ช่อดอกตัวเมียจะมีลักษณะเป็นทะลายมีผลตาลเล็กๆติดอยู่ ถ้า 1 กระโปงมี 1 ทะลายจะได้ทะลายที่มีผลขนาดใหญ่ เต้ามีขนาดใหญ่และสวย แต่ถ้า 1 กระโปง มีมากกว่า 1 ทะลายจะได้ผลที่มีขนาดเล็ก คุณภาพของผลไม่ดีเท่าที่ควรและเท่าที่ทราบเกษตรกรยังไม่เคยตัดแต่งให้เหลือแค่ 1 ทะลายต่อ 1 กระโปงแต่อย่างใด



             ผล   ผลจะเกิดกับต้นตัวเมียเท่านั้น โดยจะออกเวียนรอบต้นตามกาบใบ คือ 1 กาบใบจะออก 1 กระโปงใน 1 ปีจะออกประมาณ 10-12 กระโปง ใน 1 กระโปง จะมีช่อดอก 1-3 ทะลาย และใน 1 ทะลายประกอบด้วยผลตาลอ่อนประมาณ 1-20 ผล และใน 1 ผลจะมี 2-4 เมล็ด (เต้า)
            ต้นตามกาบใบ คือ 1 กาบใบจะออก 1 กระโปงใน 1 ปีจะออกประมาณ 10-12 กระโปง ใน 1 กระโปง จะมีช่อดอก 1-3 ทะลาย และใน 1 ทะลายประกอบด้วยผลตาลอ่อนประมาณ 1-20 ผล และใน 1 ผลจะมี 2-4 เมล็ด (เต้า)

***แหล่งที่มา  http://www.bansuanporpeang.com/node/21111



การปลูกต้นตาลโตนด

การปลูกต้นตาลโตนด

          
ตาลโตนด   เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่  ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด  เกษตรกรในจังหวัดเพชรบุรี  มีวิธีเพาะ    เมล็ดตาล 3 วิธีด้วยกัน
           1. นำผลตาลโตนดสุกมาปอกเปลือกนอกออก ขยำเอาเนื้อตาลโตนออกนำไปจำหน่ายกิโลกรัมละ 10 บาท ถ้ามีปริมาณมากก็จะใส่โอ่งหมัก โดยใส่สารกันบูดตามอัตราส่วนเพื่อชะลอการขายต่อไป หลังจากขยำเอาเนื้อออกหมดแล้วก็นำเมล็ดที่ได้ใส่ในถุงปุ๋ยนำไปแช่น้ำทั้งถุงประมาณ 5 วัน นำขึ้นจากน้ำกองบนพื้นดินหาฟางข้าวคลุมทับประมาณ 15 วัน ตาลจะเริ่มงอก
          ช่วงนี้ถ้าต้องการนำเมล็ดตาลไปปลูกก็นำไปปลูกได้เลย โดยขุดหลุมลึกประมาณ 25x25 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมเล็กน้อย วางเมล็ดที่เริ่มงอกลงไประวังอย่าให้ปลายรากหัก เพราะถ้าปลายรากหักจะไม่สามารถพัฒนาเป็นต้นอ่อนได้ โดยวางทำมุมเฉียงลง 45 องศากับพื้นดิน กันต้นที่งอกขึ้นมาชนกับเปลือกหุ้มเมล็ดหรือแทงเข้าไปในเมล็ดได้ จะทำให้ต้นอ่อนตายได้กลบดิน รดน้ำบ้างถ้าฝนไม่ตก ประมาณ 30 วัน ต้นอ่อนจะงอกพ้นดิน ระยะปลูกที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 6x6 เมตร ถึง 8x8 เมตร แล้วแต่ความอุดมสมบูรณ์ของดิน จากการสังเกตพบว่าต้นอ่อนจะค่อย ๆ พัฒนาภายในรากของเมล็ดตาลซึ่งจะงอกรากยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตรและจะหยุดการเจริญเติบโตพร้อมกับการพัฒนาต้นอ่อนในรากซึ่งผิดกับปาล์มชนิดอื่นๆ หลังจากพัฒนาเป็นต้นอ่อนสมบูรณ์แล้ว ก็จะแทงต้นอ่อนสวนขึ้นมาโผล่พ้นดิน ซึ่งจะเป็นเวลาประมาณ 30 วัน ตามที่กล่าวแล้ว 

  
          2. นำผลตาลสุกมาขยำเปลือกและเนื้อออก นำเมล็ดที่ได้ไปแช่น้ำ 3-5 วัน นำขึ้นกองบนแคร่ไม้ไผ่ สูงจากพื้นประมาณ 70-80 เซนติเมตร หาฟางข้าวคลุมทับประมาณ 15 วัน ตาลจะเริ่มงอกนำไปปลูกได้
          3. นำเมล็ดตาลแช่น้ำประมาณ 3-5 วัน นำมาปลูก ลงกระบอกไม้ไผ่ โดยใส่ดินผสมลงไปจนเต็มกระบอก โดยวางเมล็ดเฉียงประมาณ 45 องศา เพื่อไม่ให้ต้นที่งอกใหม่ชนกับเปลือกหุ้มเมล็ดหรือแทงเข้าไปในเมล็ด ทำให้ต้นอ่อนเสริมรายได้ หลังจากได้ต้นอ่อนในกระบอกแล้วนำไปปลูกในแปลงทั้งกระบอก
          4. นำผลตาลทั้งผลไปแช่น้ำ (หมัก) ประมาณ 30 วัน และไม่ควรแช่นานเกิน 60 วัน จะทำให้เมล็ดภายในเน่าได้ นำขึ้นมากองบนพื้นใช้ฟางคลุมประมาณ 15 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก นำเมล็ดที่เริ่มงอกไปปลูกในที่ๆ เตรียมไว้ต่อไป ระยะปลูก 6x6 เมตร ถึง 8x8 เมตร
          5. นำผลตาลโตนดสุกทั้งผลไปวางในตำแหน่งที่เราต้องการปลูกขุดหลุมฝังกันสัตว์กัดแทะ วิธีนี้ต้องใช้เวลามากกว่า 2 วิธีแรก ถึงจะได้ตาลต้นใหม่ หลังจากตาลงอกแล้ว ซึ่งอาจงอกหลายต้น ถอนต้นที่ไม่ต้องการทิ้ง ทำรั้วกันวัวควายเหยียบย่ำ ระยะปลูก 6x6 เมตร ถึง 8x8 เมตร 



***แหล่งที่มา  http://www.phetchaburi.doae.go.th/pb2013/tan_phet/tan6.htm


***แหล่งที่มา  https://www.youtube.com/watch?v=E1atEpf6fkI