วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ประวัติความเป็นมา

                
             ตาลโตนด   มีถิ่นกำเนิดในเอเซียตอนใต้แถบฝั่งตะวันออกของประเทศอินเดียและกระจัดกระจายขึ้นอยู่ทั่วภูมิภาคเอเซีย   ได้แก่   อินเดีย     ศรีลังกา  สหภาพเมียนม่าร์  กัมพูชา  มาเลเซีย อินโดนีเซีย   และไทยในประเทศไทยตาลโตนดได้มีการบันทึกข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษรมาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น จารึกวัดแดนเมือง จารึกวัศรีคูณเมือง จารึกวัดศรีเมือง และจารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา จากจารึกเหล่านี้เองจึงเชื่อกันว่าตาลโตนดมีการปลูกมาตั้งแต่ก่อนสมัยทวาราวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-16 เพราะได้พบตราประทับเป็นรูปคนปีนต้นตาลแสดงว่า ในสมัยนั้นได้รู้จักวิธีใช้ประโยชน์จากต้นตาลกันแล้ว แหล่งปลูกต้นตาลโตนดในประเทศไทยที่สำคัญได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี  สุพรรณบุรี  นครปฐม และในภาคใต้  จังหวัดสงขลา (อำเภอสะทิงพระ และอำเภอระโนด) การแพร่กระจายของแหล่งปลูกตาลโตนดนั้น เชื่อกันว่าสัตว์เป็นตัวนำพาไป ได้แก่ ช้างและวัวควาย ทั้งนี้ช้างจะกลืนกินเมล็ดตาลโตนดทั้งเมล็ด และช้างจะสามารถเห็นทางได้ไกลเป็นระยะร้อยกิโลเมตร จึงทำให้เมล็ดตาลโตนดแพร่กระจายจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งได้ในระยะไกล ๆ ในขณะที่วัวและควายจะชอบกินผลตาลสุก และจะดูดกินความหวานส่วนของเส้นใยผลตาลสุกที่ห่อหุ้มรอบเมล็ดแต่ไม่กินเมล็ดตาล ซึ่งมีลักษณะแข็งมาก และจะทิ้งเมล็ดไว้บริเวณใกล้เคียงที่กิน จึงไม่แพร่กระจายไปไกลมาก 




                 ตาลโตนด   จัดเป็นไม้ตระกูลเก่าแก่ตระกูลหนึ่งในโลกซึ่งมีมากกว่า 4,000 ชนิด  (Species) เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืนนับเป็นร้อยปี และอยู่กับจังหวัดเพชรบุรี  มาตั้งแต่โบราณกาล   และผลิตผลจากต้นตาลโดยเฉพาะน้ำตาลโดนดยังเป็นส่วนผสมที่สำคัญในการทำขนมหวานเมืองเพชร  ซึ่งมีชี่อเสียงตั้งแต่อดีดจนถึง ปัจจุบัน ดังคำสวดสุบินกุมารที่มีอายุมากกว่าร้อยปี  กล่าวว่า



  โตนดเต้าแลจาวตาล       เป็นเครื่องหวานเพชรบุรี 
  กินกับน้ำตาล         ของมากมีมาช่วยกัน


          จากตำนานของจังหวัดเพชรบุรีกล่าวว่าในปี พ.ศ. 2134 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้เสด็จมาประทับแรม ณ พระตำหนักโตนดหลวง (อยู่ในเขตตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ) เพื่อประพาสทางทะเล
         นักชีววิทยามีความเห็นว่า ตาลโตนดน่าจะมีถิ่นกำเนิดทางฝั่งตะวันออกของอินเดียขยายไปสู่ศรีลังกา สหภาพเมียนม่าร์ ไทย อินโดนีเซีย กัมพูชา ส่วนในประเทศไทยพบมากที่จังหวัดเพชรบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ส่วนภาคใต้พบมากที่อำเภอสทิงพระ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา การแพร่กระจาย ของตาลโตนดนั้น นักวิชาการบางท่านให้ความเห็นว่า การแพร่กระจายของตาลโตนดนั้น สัตว์ก็มีส่วนด้วยเหมือนกัน เช่น เวลาช้างกินเมล็ดตาลโตนด จะกลืนทั้งเมล็ด และช้างจะเดินทางไกลนับเป็นร้อยๆกิโลเมตร ทำให้ตาลโตนดแพร่กระจายจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งได้เช่นกัน ตรงข้ามกับวัว ควาย ซึ่งชอบ เมล็ดตาลโตนดสุกเหมือนกัน   แต่วัว ควายได้แต่แทะ    และดูดกินส่วนของเส้นใยของเมล็ดตาล    พอหมดรสหวานก็จะทิ้งไว้ใกล้เคียงบริเวณเดิม   ไม่แพร่กระจายไปสู่ถิ่นอื่น   ม่กินเมล็ดตาล ซึ่งมีลักษณะแข็งมาก และจะทิ้งเมล็ดไว้บริเวณใกล้เคียงที่กิน จึงไม่แพร่กระจายไปไกลมาก 

***แหล่งที่มา  http://www.phetchaburi.doae.go.th/pb2013/tan_phet/tan1.htm



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น